และแล้วฤดูแห่งการตะลอนทัวร์ก็มาถึง มีแผนจะไปแอ่วที่ใดกันมั่งละครับ ? แต่ผมว่าหนาวๆอย่างนี้ไปปิ้งเผือกปิ้งมันบนดอยท่าจะสุขที่ซู๊ดด.. อย่างไรก็แล้วแต่ ก่อนไปอย่าลืมสำรวจอุปกรณ์จำเป็นที่ต้องใช้ให้ครบนะครับว่า อันไหนชำรุดไปมั่ง ถ้าเป็นเช่นนั้นจะได้ซ่อมแต
Untitled Document
|
ยามเราต้องจากบ้าน ไปท่องเที่ยวที่ไหนซักแห่ง โดยไม่มีที่พัก เต้นท์ ถือเป็นอุปกรณ์คู่ชีพ ที่ขาดไม่ได้ แล้วยังเป็นบ้านหลังที่สอง ที่จะช่วยเติมเต็มความสุข ให้เราได้ไม่น้อย ดังนั้น เพื่อยืดอายุให้บ้านหลังนี้ สามารถอยู่คู่เราไปได้นานๆ วิธีการดูแลรักษา จึงเป็นสิ่งสำคัญ ที่เราควรจะใส่ใจเป็นพิเศษ
การรักษาความสะอาด
โดยปรกติแล้ว การทำความสะอาดนั้น แค่เพียงเขย่าเต็นท์ก็พอ แต่ในบางโอกาส เจ้าของจำเป็นต้อง ทำความสะอาด แบบพิถีพิถันกว่านั้น แต่อย่างไรก็ตาม ห้ามนำเต้นท์ไปซัก ในเครื่องซักผ้า หรือ เครื่องซักแห้งเป็นอันขาด เพราะมันจะยิ่งทำให้เต็นท์ที่รัก หมดอายุการใช้งานเร็วยิ่งขึ้น วิธีที่ถูกต้องควรจะทำดังนี้
1.ต้องกลับเอาด้านในออกด้านนอก เพื่อทำให้เศษดิน หรือ เศษอื่น ๆ ที่ค้างอยู่หลุดออกมา จากนั้นค่อยนำผ้าชุบน้ำหมาด ๆ มาเช็ดให้ทั่วด้านนอก เพื่อขจัดรอยเปื้อนต่างๆ
2. ปักเต็นท์ขึ้น และทำความสะอาดผนังเต้นท์ ทั้งด้านในและด้านนอก จากนั้นใช้ฟองน้ำเช็ดสักสองรอบ เพื่อให้แน่ใจว่า คราบสบู่หายไปหมด แต่จำไว้ว่าอย่าจุ่มเต็นท์ลงในน้ำเป็นอันขาด
3. ให้ใช้มีดทาเนยขูดเต็นท์ เพื่อที่จะไล่น้ำออกให้หมด ซึ่งต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ เพราะมันอาจจะตัด ให้ผ้าขาดได้ และก็ไม่ควรใช้สารละลายต่างๆ ด้วย เพราะสารละลายบางชนิด อาจกัดกร่อนเต็นท์ได้ สำหรับน้ำ ที่ค่อนข้างจะเหนียวเหนอะหนะ ให้ซับด้วยกระดาษทิชชู ก่อนจะดึงทิชชูออก ระวังอย่าเช็ดแรง เพราะอาจทำให้เกิดขุยได้ หากต้องการจะเก็บเต็นท์ ให้แปะกระดาษทิชชู ไว้ตรงรอยด่าง แล้วค่อยทำความสะอาดทีหลัง แต่เพื่อให้การทำความสะอาด เป็นไปอย่างสมบูรณ์ ควรจะผสมผงไกลเซอรีน (glycerin ) และน้ำในอัตราส่วนที่เท่ากัน จากนั้น ให้นำส่วนผสมดังกล่าว ไปป้ายบนรอยเปื้อนนั้น
4.กลิ่นเหม็นอับ หรือ รอยเปื้อนรูปกากบาท บนผืนเต็นท์ คือตัวบ่งชี้ว่า เต็นท์ของคุณขึ้นรา ดังนั้น เพื่อกำจัดให้เชื้อราหมดไป ควรจะ ผสมเกลือ 1 ถ้วย กับน้ำมะนาว1 ถ้วย และน้ำร้อน 1 แกลลอน ให้เข้ากัน จากนั้นนำส่วนผสมดังกล่าว ไปเช็ดตามจุดที่มีเชื้อราขึ้น แล้วนำเต็นท์ไปผึ่งกลางแดด ปล่อยไว้ให้แห้ง
การดูแลรักษา
ทราบหรือไม่ว่า กรวดก้อนเล็กๆ หรือเม็ดทรายหยาบ ๆ คือ ศัตรูอันร้ายกาจของ ซิปเต็นท์เลยเชียวละ เพราะมันจะทำให้ ซิปเกิดการชำรุด ใช้การไม่ได้ ดังนั้น จึงจำเป็นที่จะต้องใช้ น้ำมันหล่อลื่น ในการช่วยให้ซิป สามารถกลับมาเลื่อน ได้ดังเดิม นอกจากนี้ คุณยังสามารถใช้บริการ ของเจ้าขี้ผึ้งพาราฟิน ( paraffin wax) หรือ สบู่ได้ด้วย แต่ห้ามใช้ผลิตภัณฑ์ ที่ทำจากปิโตรเลี่ยมเด็ดขาด เพราะมันจะยิ่งทำให้ ซิปของคุณฝืดลง
|
|
|
|
|
|
|
ทราบหรือไม่ว่า การที่เต็นท์แต่ละผืน สามารถกันน้ำได้นั้น เพราะว่า การเย็บตะเข็บที่ดีนั่นเอง แต่ว่า หากเราใช้ไปนานๆ ตะเข็บดังกล่าว ก็อาจจะเกิดการชำรุดได้ ดังนั้น ก็ควรจะหมั่นตรวจสอบอยู่เสมอๆ และทำการซ่อมแซม เสียให้เรียบร้อย ก่อนที่จะใช้เต็นท์ครั้งต่อไป
การเก็บรักษา
อย่าปล่อยให้เต็นท์อยู่ในสภาพที่ชื้นแฉะ เป็นอันขาด เพราะความชื้น จะนำมาซึ่งเชื้อราต่างๆ กลิ่นเหม็นอับ รวมถึง ปัญหาที่ยากจะแก้ไขได้ด้วย ดังนั้น หลังการใช้เต็นท์ทุกครั้ง จึงจำเป็นต้องผึ่งมันให้แห้ง ก่อนการจัดเก็บทุกครั้ง
แม้ว่าเสาเต็นท์ จะเป็นอุปกรณ์ ที่มาพร้อมกับเต็นท์ แต่เวลาเก็บ เราไม่จำเป็น ต้องเก็บไว้ในถุงเดียว กับเต็นท์ก็ได้ เพราะมันอาจจะแทง ทะลุออกมา ทำให้ผ้าเต็นท์ เกิดความเสียหายได้ ทางที่ดี ควรจะหาปลอกหมอนเก่าๆ ที่ไม่ใช้แล้ว มาเป็นภาชนะ สำหรับเสาเต็นท์ ของคุณจะดีกว่า
เพื่อเป็นการป้องกันความชื้น อีกระดับ เวลาเก็บเต็นท์ เข้าถุงเรียบร้อยแล้ว ควรจะมัดปากหลวมๆ และขยายถุงใส่ ให้กว้างจะได้มีอากาศระบาย ในถุงบ้าง และหลีกเลี่ยง การเก็บเต็นท์ ไว้ในที่อับชื้น และที่ที่มีอากาศถ่ายเทน้อยด้วย
เพียงเท่านี้ คุณก็สามารถยืดอายุการใช้งานของ เต็นท์ที่คุณรัก ไปได้อีกนาน แถมยังประหยัดสตังค์ อีกด้วย อย่างไรซะ ก็อย่าลืมเอาวิธีที่เราแนะนำ ไปลองทำดูนะครับ
|
|
|
|
|
|
|
แหล่งข้อมูล :
www.bootsnall.com |
|