Home บทความ Tip & Technique การดูแลรักษาผ้าไหม
การดูแลรักษาผ้าไหม
นอกจากจะมี วัฒนธรรม ประเพณี ที่โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ ซึ่งสืบทอดกันมายาวนานหลายร้อยปีแล้ว ผ้าไหม ยังเป็นอีกหนึ่งสิ่ง ที่สร้างความภาคภูมิใน ให้คนในชาติไทยได้ไม่น้อย ไม่เพียงคำร่ำลือว่า สวยงาม มีเสน่ห์ และสวมใส่สบายเท่านั้น แต่มันยังเป็นตัวสะท้อนถึง ควา Untitled Document

กว่าไหมแต่ละผืน จะสำเร็จออกมา ต้องใช้เวลาเป็นแรมปี กว่าจะปลูกหม่อน เพื่อใช้เลี้ยงไหมได้ ไม่เพียงเท่านั้น เราต้องรออีกถึง ประมาณ 20 - 25 วัน กว่าหนอนไหม จะผลิตรังไหมออกมา ซึ่งในระยะเวลาดังกล่าว ก็จะต้องเก็บใบหม่อนมาเลี้ยงไหม ทุกวัน วันละ 3 - 5 ครั้ง

นอกจากนี้ ผู้เลี้ยงยังต้องคอย ตรวจตราความปลอดภัย ป้องกันโรคแมลง ไม่ให้กล้ำกรายตัวไหม อีกทั้งเรื่องการดูแลรักษาความสะอาด ที่ต้องหมั่นทำบ่อย ๆ ด้วย และเมื่อครบกำหนดแล้ว ไหมก็ทำรัง โดยพ่นเส้นใยไหมให้ จากนั้นก็ต้องมานั่งดึงเอาเส้นใย (สาวไหม) ให้เป็นเส้นไหมตามที่ต้องการ เสร็จแล้วก็นำไปฟอก ไปมัดลาย ไปย้อม ไปขึ้นกี่ทอผ้า ดังนั้นขบวนการผลิตผ้าไหม หรือผลิตภัณฑ์จากไหมนั้น ต้องใช้เวลา แรงงาน และความตั้งใจ อย่างพอสมควร

ดังนั้น เพื่อให้ผลิตภัณฑ์จากผ้าไหม ที่ท่านได้มานั้น ยังคงความสวยงาม และมีคุณภาพ การรักษาดูแล จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ใช้ ควรใส่ใจเป็นพิเศษ โดยสามารถทำได้ดังต่อไปนี้คือ

1. การตัดเย็บ

เริ่มต้นด้วย การจุ่มผ้าไหมลงในน้ำร้อน เพื่อไล่สีที่หลงเหลือ หรือสีที่ไม่สามารถจับติดในเนื้อผ้าไหม ให้ออกไป วิธีนี้ยังช่วยให้ผ้ามีความงาม เป็นประกายดีขึ้น เมื่อผ้าแห้งให้รีดผ้าไหมทางด้านหลัง ด้วยไฟอ่อน ๆ โดยพ่นน้ำเพียงเล็กน้อยก่อนรีด พึงระลึกเสมอว่า ให้พ่นฉีดน้ำบาง ๆ เท่านั้น อย่าถึงกับให้เปียก เพราะ ถ้าเปียกเวลารีดแล้ว อาจทำให้ผ้าเกิดเป็นจุดที่ไม่สวยงาม จากนั้น ค่อยจัดเส้นลายผ้าให้ตรง แล้วทำการตัด และเย็บด้วยเข็ม และด้ายที่เหมาะสมกับคุณภาพของผ้า

2.การรีด

การรีดโดยทั่วไป หรือรีดเพื่อลบรอยย่น หลังจากตัดเย็บแล้วหรือ การสวมใส่อุณหภูมิที่เหมาะสม ในการรีดผ้าไหม โดยทั่วไป ควรรักษาอุณหภูมิ ให้อยู่ในระหว่าง 120 - 140 องศาเซลเซียส และการรีด ควรมีผ้าฝ้ายหนา ๆ ทับบนผ้าไหม เพื่อป้องกันการสัมผัสผ้าไหม กับเตารีดโดยตรง ถ้าสัมผัสโดยตรง จะทำให้คุณสมบัติต่างๆ ของผ้าไหมสูญเสียไปได้

3. การซัก

ซักแห้ง นับว่าเหมาะสมที่สุด แต่ถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้ ที่จะซักแบบธรรมดา ควรใช้สารที่มีคุณภาพเป็นกลาง ในน้ำอุ่นให้ทั่ว อย่าให้ผ้าไหมกอง หรือพับติดกัน หลังจากซักแล้วให้บิดเบา ๆ นำไปผึ่งในที่ร่ม ห้ามผึ่งแดดโดยเด็ดขาด

4. การระมัดระวังและเก็บรักษา

หลังการสวมใส่ทุกครั้ง ให้ตรวจสอบสิ่งสกปรก ที่ติดอยู่อย่างระมัดระวัง แล้วค่อย ผึ่งให้เสื้อผ้าคงรูปเดิมในที่ ๆ มีการถ่ายเทอากาศที่ดี ปราศจากฝุ่นละออง ถ้าผ้าเกิดเสียรูปร่าง หรือ มีรอยยับให้ใช้เตารีด รีดให้เรียบ การเตรียมการเก็บรักษา ก่อนการจัดเก็บ เสื้อผ้าต้องอยู่ในสภาพเรียบ ไม่มีรอยยับ แห้ง และสะอาดอยู่เสมอ

สารป้องกันแมลง เป็นสิ่งสำคัญ ที่จะช่วยป้องกันผ้าผืนงามของคุณ จากเขี้ยวเล็บของพวกแมลงร้าย แต่จำไว้ว่า ไม่ควรจะวาง ไว้ในตู้ด้วย แต่ไม่ควรวางไว้ ให้สัมผัสกับผ้าไหมโดยตรง อย่าเก็บในที่ชื้น และต้องปราศจากแมลง หรือราที่จะทำอันตรายกับผ้าไหม ทางที่ดีควรเก็บใส่ถุงที่มีอุณหภูมิต่ำ และสะอาด อาจเป็นถุงผ้า หรือถุงพลาสติกก็ได้ การตาก หรือผึ่ง ควรผึ่งในที่มีการถ่ายเทอากาศที่ดี ความชื้นต่ำในระหว่างเวลา 10.00 - 14.00 น. เป็นระยะเวลาที่เหมาะสม

แต่ช่วงฤดูฝน ความชื้นจะมีค่อนข้างสูงดังนั้น ควรทำการป้องกันแมลง และเชื้อราต่าง ๆ ที่อาจทำอันตรายกับผ้าไหมได้ ในบ้านเรา มีข้อจำกัดเพียงในฤดูฝนเท่านั้น ส่วนหน้าหนาว และหน้าร้อน เราสามารถผึ่งในร่มได้ดี โดยไม่มีปัญหา นอกจากลูกเหม็นแล้วสารอื่น เช่น สารฆ่าแมลงชนิดระเหย ประกอบด้วย DDVP 16% ใช้ในโรงเก็บเมล็ดพันธุ์ มีความเป็นพิษต่อคนน้อย และสารอื่น ๆ เช่น คลอโรพิคริน (Chloropicrin), เมธทิลโบรไมด็ (Methylbromide), ไฮโดรฟอสเฟท (Hydrophosphate)

อย่างไรก็ตาม สารฆ่าแมลงเหล่านี้ ก่อนใช้ทุกครั้ง ควรอ่านคำแนะนำ หรือทำการศึกษา จากผู้รู้จะทำให้ปลอดภัย

Savant

แหล่งข้อมูล : www.silkthailand.com