Home บทความ Health & Beauty เบาจืด (Diabetes Insipidus)
เบาจืด (Diabetes Insipidus)
เคยสงสัยไหมคะว่า ทำไมบางวันเราถึงรู้สึก กระหายน้ำมากผิดปรกติ แถมยังอยากเข้าห้องน้ำบ่อย ๆ ทุกครึ่ง หรือ หนึ่งชั่วโมงด้วย บางคนอาจคิดว่าเป็นเพราะ ดื่มน้ำมากก็เลยฉี่บ่อย นั่นอาจจะเป็นเหตุเป็นผลกัน แต่ทราบหรือไม่ว่า มันอาจจะมีอะไร ที่มากกว่านั้นก็ได้
เคยสงสัยไหมคะว่า ทำไมบางวันเราถึงรู้สึก กระหายน้ำมากผิดปรกติ แถมยังอยากเข้าห้องน้ำบ่อย ๆ ทุกครึ่ง หรือ หนึ่งชั่วโมงด้วย บางคนอาจคิดว่าเป็นเพราะ ดื่มน้ำมากก็เลยฉี่บ่อย นั่นอาจจะเป็นเหตุเป็นผลกัน แต่ทราบหรือไม่ว่า มันอาจจะมีอะไร ที่มากกว่านั้นก็ได้

การที่เรารู้สึก อยากเข้าห้องน้ำบ่อยผิดปรกตินั้น สาเหตุส่วนใหญ่ น่าจะมาจากอากาศเย็น หรือดื่มน้ำมากไป ซึ่งการที่เรา ดื่มน้ำมากไปเนี่ย ก็เนื่องมาจากการที่เรากระหายน้ำ และถ้าเป็น ช่วงหน้าร้อนหรือวันที่อากาศร้อน ๆ ก็คงไม่แปลก ที่เราจะหิวน้ำมาก แต่ในวันที่อากาศเย็น และเราไม่ได้เสียเหงื่อ นี่ซิคะ หากมีความอยากน้ำมาก มันก็น่าแปลก หากคุณ กำลังมีอาการเช่นนี้ ระวังหน่อยนะคะ เพราะคุณอาจจะกำลัง เป็นเบาจืดอยู่ก็ได้

เบาจืด คืออะไร ?

หลายคนอาจจะไม่รู้จักเบาจืด แต่ถ้าเป็นเบาหวานละก็ คงรู้จักกันดี เบาจืดนั้น เป็นโรคที่มีการสูญเสียหน้าที่ การดูดกลับ ของน้ำที่ไต เนื่องจากมีระดับของฮอร์โมน ที่ทำหน้าที่ควบคุม การดูดกลับของน้ำนั้นลดลง

สาเหตุการเกิดโรคเบาจืด

สำหรับสาเหตุของโรคเบาจืดนั้น อาจมีหลายอย่าง แต่ส่วนใหญ่ มักเกิดจากส่วนของสมองที่เรียกว่า "ไฮโปธาลามัส (hypothalamus)" ไม่สามารถผลิตฮอร์โมน แอนติดิยูเรติก (antidiuretic) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ร่างกาย ต้องการที่จะ นำไปใช้อีกกรณีหนึ่ง
อาจเนื่องมาจาก การที่ไตไม่สามารถ จะดูดซึมฮอร์โมน ได้เท่าที่ควรนอกจากนี้ โรคเบาจืด อาจจะ มีสาเหตุจากอาการบวม หรือ เนื้องอกในต่อม พิทูอิทารี อาการบาดเจ็บที่ศีรษะ โดยมีผลต่อต่อม พิทูอิทารี อันทำให้เกิด เนื้องอกในสมอง หรือการติดเชื้อ อย่าง เยื่อหุ้มสมองอักเสบ หรือ ภาวะสมองอักเสบจากเชื้อไวรัส ภาวะเส้นโลหิตแดงโป่งพอง เป็นถุงขังโลหิตไว้ โรคไต และมะเร็ง

อย่างไรก็ตามแพทย์พบว่า มีผู้ป่วยจำนวนถึง 25% ที่ไม่สามารถหาสาเหตุได้พบ

ปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาจืด

- เนื้องอกในสมอง หรือ เนื้องอกในต่อมพิทูอิทารี

- การบาดเจ็บบริเวณศีรษะ

- การติดเชื้อ เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ภาวะสมองอักเสบ จากเชื้อไวรัส และ วัณโรค (meningitis, encephalitis, tuberculosis.)

- โรคที่มีเนื้องอกตุ่มเล็กๆ (Sarcoidosis)

- ประวัติบุคคลในครอบครัว เคยป่วยเป็นโรคเบาจืด มาก่อน

- การสะสมของไขมัน บนผนังของหลอดเลือดแดง (Atherosclerosis hardening of the arteries).

ลักษณะอาการ

- ปัสสาวะหลายครั้ง ประมาณ 1ใน 4 แกลลอนต่อวัน โดยปัสสาวะเจือจางและใส

- กระหายน้ำเนื่องจากการขาดน้ำ อันจะทำให้หัวใจ เต้นเร็ว ความดันโลหิตต่ำ และอาจช็อคได้

- ท้องผูกและปัสสาวะมีสีจาง

- ในกรณีที่ไม่รุนแรง อาจจะแค่ปัสสาวะรดที่นอน

การรักษา

จริง ๆ แล้ว โรคเบาจืดจะไม่ค่อยมีอาการรบกวนผู้ป่วย สักเท่าไรนักหรือบางคนอาจจะไม่มีเลย ซึ่งหากใครที่ไม่มีอาการใด ๆ ก็ไม่จำเป็นต้องทำอะไรมาก แต่อย่างไรซะแพทย์ก็ยังต้องทำการ ตรวจเช็คคุณอยู่เสมอ ๆ และคุณก็จำเป็นต้องหาเครื่องดื่ม ติดตัวไว้ตลอดด้วยเพื่อที่ว่าร่างกาย จะได้ไม่เกิดการกระหายน้ำมาก อย่างไรก็ดี ผู้ป่วยจำเป็น ต้องได้รับการรักษาจากการใช้สารต่าง ๆ เข้าช่วยดังเช่น

- บางคนที่เป็นโรคนี้ อาจจะตื่นขึ้นเข้าห้องน้ำกลางดึกบ่อย ๆ ดังนั้น จึงจำเป็นที่จะต้องใช้ยา DDAVP เข้าช่วยด้วย ยานี้ จะมีคุณสมบัติคล้ายกับสาร ADH มาก ซึ่งยาดังกล่าวจะเป็น ประเภทสเปรย์ฉีดจมูก ผู้ป่วยเพียงแค่ฉีดยา เข้าไปในรูจมูกแต่ละข้าง ก่อนเข้านอนก็พอ
และหากต้องตื่น ในช่วงกลางคืนอีก ก็ให้ฉีดยานี้อีก และอาจจะต้องฉีด ในช่วงเช้าด้วย แต่ถ้าใช้ยา DDAVP ก็จะต้องไม่ดื่มมาก เพราะไม่อย่างนั้นมันจะทำให้ ร่างกายของคุณได้รับของเหลวที่มากเกินไป ซึ่งถ้าร่างกายมีน้ำมากเกินไป ก็จะทำให้คุณ รู้สึกอ่อนแอหรือเพลีย และแย่ขึ้นเรื่อย ๆ

- ในกรณีที่โรคเบาจืดมีสาเหตุมาจากไต ซึ่งไม่สามารถ รับสารประเภท ADH ได้นั้น ยาจำพวก DDAVP ก็ช่วยคุณ ไม่ได้เช่นกัน แต่จะต้องใช้ยาที่มีสารจำพวก ไฮโดรคลอโรไทอะไซด์ (hydrochlorothiazide) แทน เพราะมันจะช่วยให้ร่างกาย เกลือและน้ำมีความสมดุลกัน

- นอกจากนี้ยาที่มีส่วนประกอบจากสารจำพวก คลอร์โปรปาไมด์ (chlorpropamide) คาร์บามาเซไปน์ (carbamazepine) และคลอไฟเบรต (clofibrate) ก็สามารถ ใช้ได้เช่นกัน

สำหรับในส่วนของการรับประทานอาหารนั้นจริงๆ แล้ว ไม่จำเป็นต้อง พิถีพิถันกับอาหารประเภทใดเป็นพิเศษ เพียงรับประทาน ให้ครบทั้ง 5 หมู่ และคอยดื่มน้ำเรื่อย ๆ เมื่อมีอาการกระหายน้ำ เท่านั้นก็พอ

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากผู้ป่วย มักจะถ่ายปัสสาวะบ่อยมาก พวกเขาจึงควรได้รับการดูแลความสะอาดหลังถ่ายปัสสาวะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ป่วยสูงวัย ควรได้รับการดูแลจากญาติให้หลีกเลี่ยง การลุกเดินไปห้องน้ำบ่อย ๆ โดยใช้กระโถนเพื่อป้องกันอุบัติเหตุ นอกจากนี้ผู้ป่วยควรได้รับน้ำเข้าสู่ร่างกายอย่างเพียงพอ ซึ่งเราสามารถสังเกตได้ว่า มีการขาดน้ำหรือไม่ จากอาการ ริมฝีปากแห้ง ผิวแห้งซีด ตาลึกโบ๋ เป็นต้น

Endrophine

Sources:
www.rxmed.com
www.entrance.co.th
www.medicinenet.com
http://familydoctor.org