Home บทความ Health & Beauty ภัยเงียบจาก...ชาเขียว
ภัยเงียบจาก...ชาเขียว
Article Index
ภัยเงียบจาก...ชาเขียว
หน้า #
All Pages
สรุปว่าชาเขียว พร้อมดื่มก็ไม่ต่างอะไร กับการดื่มน้ำอัดลม ที่ให้เพียงแค่พลังงานสูญเปล่า จากน้ำตาลที่เป็น คาร์โบเดรตเชิงเดี่ยว ซึ่งไม่จำเป็นต่อร่างกาย

โดยบางคน ที่เกิดอาการแพ้ เมื่อดื่มชาเขียว ก็มีอาการต่าง ๆ เช่น หายใจติดขัด แน่นหน้าอก หายใจไม่ออก ริมฝีปาก ลิ้น และใบหน้าบวม เกิดลมพิษ ท้องเสีย เบื่ออาหาร ท้องผูก ท้องร่วง หงุดหงิดง่ายและปวดศรีษะ หากมีอาการแพ้เหล่านี้ ให้รีบปรึกษาแพทย์ทันที

หากดื่มชาเขียว เป็นระยะเวลานาน ติดต่อกัน อาจเป็นสาเหตุ ที่ทำให้เกิดโรคมะเร็ง ในหลอดเลือด และผู้ที่มีอาการป่วยทางเลือด เช่น มีเลือดออกผิดปกติ การแข็งตัวของเลือดผิดปกติ เมื่อรับประทาน ยาละลายลิ่มเลือดแล้ว ไม่ควรดื่มชาเขียว เพราะการดื่มชาเขียว ในปริมาณสูง จะมีผลในการลดการดูดซึมวิตามิน B1 และธาตุเหล็ก

นอกจากนี้ ยังมีข้อห้าม ของการดื่มชาด้วย คือไม่ควรดื่มชา ขณะที่กินยา เพราะสารต่างๆ ในน้ำชา อาจทำปฏิกิริยา ต่อต้านตัวยา ที่กินเข้าไป ทำให้คุณสมบัติ ของยาเจือจาง หรือเสื่อม สภาพลง ถ้าต้องการดื่มชา ควรดื่มก่อน หรือหลังทานยา ประมาณ 2 ชั่วโมง สำหรับคนที่เป็น เบาหวาน ตั้งครรภ์ คนชรา และเด็กเล็ก ไม่ควรดื่มชาก่อนนอน โดยเฉพาะ เด็กที่มีอายุต่ำกว่า 3 ขวบ ไม่ควรดื่มชาเลย เพราะกรดแทนนินในชา เมื่อรวมตัวกับธาตุเหล็ก ในกระเพาะอาหาร และลำไส้ จะกลายเป็นสาร ที่ไม่สามารถละลายได้ ทำให้เด็กไม่เติบโต ขาดธาตุเหล็กและโลหิตจาง

ไม่ควรดื่มชา ในขณะที่ร้อนจัด เพราะการดื่มของร้อนจัด อาจทำให้เนื้อบางส่วน ในช่องปากตาย และกระตุ้นเซลล์มะเร็งได้ ส่วนผู้ที่มีปัญหาเรื่องไต ไม่ควรดื่มน้ำชามาก เพราะจะ ปัสสาวะบ่อย ทำให้ไตทำงานหนัก เพื่อหลีกเลี่ยง ไม่ให้ความดันโลหิต ถูกกระตุ้น มากเกินไป ผู้ป่วยที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง ไม่ควรดื่มน้ำชาเข้มข้นเลย เพราะความเป็นด่างในน้ำชา ทำให้ความดันโลหิต และอุณหภูมิในร่างกาย เพิ่มสูงขึ้น เพราะฉะนั้น ผู้ที่เป็นไข้ก็ ไม่ควรดื่มชา เช่นกัน

ประโยชน์ของชาเขียว แม้ว่าจะมีมากมาย แต่ถ้าหากกิน เพื่อความเท่ห์ หรือตามแฟชั่น มากเกินไป ก็ส่งผลเสียต่อร่างกายได้ เนื่องจากยังไม่มีฉลากควบคุม ปริมาณการบริโภค ชาเขียว ในแต่ละวัน ทำให้ผู้บริโภค ไม่สามารถรับรู้ได้เลยว่า ควรดื่มในปริมาณเท่าไหร่ ด้วยทุกวันนี้ ทั้งเด็ก และผู้ใหญ่ แทบจะดื่มชาเขียว แทนน้ำเปล่า ซึ่งความเป็นจริงแล้ว เรื่องเหล่านี้ เป็นหน้าที่ของ ผู้ผลิต ที่จะแจ้งให้ผู้บริโภคได้ทราบเหมือนกับ เครื่องดื่มชูกำลังทั่วไป เพราะอย่าลืมว่า ชาเขียว ก็เป็นอีกหนึ่งเครื่องดื่ม ที่มีคาเฟอีนเช่นกัน


Endrophine

แหล่งข้อมูล :
www.gpo.or.th
www.husonu.com
www.thaifitway.com
www.thaihealth.info
http://board.narak.com
http://update.se-ed.com
http://mukdahan.doae.go.th