Home บทความ Free Zone แผ่นดินทอง ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ตอนที่ 1
แผ่นดินทอง ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ตอนที่ 1
Article Index
แผ่นดินทอง ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ตอนที่ 1
หน้า #
หน้า #
หน้า #
All Pages
เวลาผ่านไปไวเหมือนติดจรวด อีกไม่กี่เดือนก็จะสิ้นปี 2549 กันแล้ว ตอนนี้เชื่อว่าหลายคนคงจะวางแผนพักผ่อนปลายปี เพื่อสัมผัสธรรมชาติ ที่ธรรมชาติรังสรรค์ ปั้นแต่งด้วยตัวธรรมชาติเอง แต่คราวนี้ไปไหนดี อยากจะชวนทุกคนสัมผัสสิ่งที่สร้างจากน้ำมือมนุษย์กันบ้าง ว่าเห็นเป็นเช่นไร
วลาผ่านไปไว เหมือนติดจรวด อีกไม่กี่เดือนก็จะสิ้นปี 2549 กันแล้ว ตอนนี้เชื่อว่าหลายคน คงจะวางแผนพักผ่อนปลายปี เพื่อสัมผัสธรรมชาติ ที่ธรรมชาติรังสรรค์ ปั้นแต่งด้วยตัวธรรมชาติเอง แต่คราวนี้ไปไหนดี อยากจะชวนทุกคน สัมผัสสิ่งที่สร้างจากน้ำมือมนุษย์กันบ้าง ว่าเห็นเป็นเช่นไร

จากหนองงูเห่า
ทุ่งกว้างบนเนื้อที่กว่า 20,000 ไร่ ซึ่งเคยเป็นแหล่ง เกษตรกรรม ทำนาปลูกข้าว เลี้ยงปลา พื้นที่รองรับน้ำ ของกรุงเทพมหานคร และเป็นที่อยู่อาศัย ของบรรดาสัตว์เลื้อยคลานในอดีต รวมถึงฝูงนก ในยามพลัดถิ่น กำลังจะเปลี่ยนเป็นศูนย์กลาง การบินของภูมิภาคที่ทันสมัย และยิ่งใหญ่ที่สุดในเอเชียอาคเนย์ ด้วยเป็นชัยภูมิอันเหมาะสม จากการศึกษา และคัดเลือกของกรมการบินพาณิชย์ กระทรวงคมนาคม ในปี พ.ศ.2503 ช่วงเวลาดังกล่าว เป็นจุดเริ่มต้น ของการวางแผนท่าอากาศยานแห่งนี้

เนื่องจากสภาพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ร่างแผนแม่บท การพัฒนาประเทศฉบับแรกของไทย ในการนั้นได้ทำการศึกษา และวางผังเมืองกรุงเทพมหานคร ผลของการศึกษาส่วนหนึ่ง ชี้ให้เห็นความสำคัญ ที่กรุงเทพจะต้องมีสนามบินพาณิชย์ใหม่อีกแห่ง เพื่อแยกเครื่องบินพลเรือน ออกจากเครื่องบินทหาร ซึ่งตามหลักยุทธศาตร์แล้ว การใช้สนามบินร่วมกันนั้นไม่เหมาะสมนัก และอีกประการหนึ่ง คือ กรุงเทพจำเป็นต้องมีสนามบินพาณิชย์แห่งที่ 2 และได้เสนอพื้นที่ก่อสร้าง ให้อยู่บริเวณทิศตะวันออกของกรุงเทพ ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้น ของแนวความคิดในการก่อสร้าง สนามบินนานาชาติแห่งใหม่ของประเทศไทย แทนสนามบินดอนเมือง ที่มีแนวโน้มว่าจะคับแคบ และไม่เพียงพอสำหรับอุตสาหกรรมการบินของโลก ที่เติบโตขึ้นอย่างไม่หยุดยั้ง

สนามบินแห่งนี้ ไม่เพียงแต่กินพื้นที่กว้าง แต่ยังใช้เวลา ในการดำเนินการ เกือบครึ่งศตวรรษ โดยผ่านคณะรัฐบาล 31 คณะ และนายกรัฐมนตรี 15 คน ความล่าช้านั้น เป็นผลจาก ปัจจัยหลายประการ ทั้งการให้ความสำคัญ ของแต่ละรัฐบาล บางยุคมีการเปลี่ยนแปลง ทางการเมือง ซึ่งเคยมีการพิจารณา คัดเลือกสถานที่อื่น ๆ ที่เหมาะสม นอกเหนือจากหนองงูเห่า ในสมัย พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ ปรากฎว่ามีบริเวณที่เหมาะสม 7 แห่ง คือ
1.บริเวณพื้นที่ อำเภอลาดหลุมแก้ว และอำเภอลาดบัวหลวง จังหวัดปทุมธานี
2.พื้นที่ด้านทิศใต้ ของอำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี ต่อกับจังหวัดนครปฐม
3.บริเวณดอนเมือง
4.บริเวณพื้นที่ ด้านทิศเหนือ ของเขตหนองจอก

5.หนองงูเห่า
6.บริเวณพื้นที่ ด้านทิศเหนือ ของอำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ
7.บริเวณพื้นที่ ด้าน ทิศตะวันออกเฉียงใต้ ของอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ

ผลการคัดลือกพื้นที่ครั้งที่ 2 คงเหลือบริเวณที่เหมาะสม 3 แห่ง คือ บริเวณไทรน้อย ดอนเมือง และหนองงูเห่า ผลการคัดเลือกพื้นที่ ครั้งที่ 3 คงเหลือ 2 แห่ง คือ ดอนเมืองและหนองงูเห่า และเมื่อผลการคัดเลือก ครั้งสุดท้ายมาถึง ในปี พ.ศ.2521 รัฐบาลก็ได้ข้อสรุปว่า"เราเสียเวลาไป รวมทั้งสิ้น 19 ปี เพียงเพื่อจะกลับมา สู่จุดเริ่มต้นว่า หนองงูเห่า คือ บริเวณที่เหมาะสมที่สุด ในการก่อสร้างสนามบินพาณิชย์แห่งใหม่"