Home บทความ Health & Beauty การจัดการกับความเครียด
การจัดการกับความเครียด
ความเครียดเป็นปัญหาด้านจิตใจที่ก่อให้เกิด ปฏิกิริยาทางกาย โรคร้ายต่าง ๆ จึงมักจะมีสาเหตุจาก ความเครียดเป็นส่วนใหญ่ ความเครียด ทำให้เราเกิดความไม่พอใจ ในชีวิตที่เป็นอยู่ รู้สึกวิตกกังวล หดหู่ ไม่เป็นสุข รู้สึกท้อแท้สิ้นหวัง ไม่มีกำลังใจ ที่จะคิดจะทำอะ
ความเครียดเป็นปัญหาด้านจิตใจที่ก่อให้เกิด ปฏิกิริยาทางกาย โรคร้ายต่าง ๆ จึงมักจะมีสาเหตุจาก ความเครียดเป็นส่วนใหญ่ ความเครียด ทำให้เราเกิดความไม่พอใจ ในชีวิตที่เป็นอยู่ รู้สึกวิตกกังวล หดหู่ ไม่เป็นสุข รู้สึกท้อแท้สิ้นหวัง ไม่มีกำลังใจ ที่จะคิดจะทำอะไร ทำให้ขาดความคิดสร้างสรรค์ดี ๆ ขาดประสิทธิภาพในการทำงาน มองสิ่งต่าง ๆ ในทางลบ เป็นการทำร้ายตัวเอง โดยไม่จำเป็น ความเครียดจึงเป็นศัตรู ตัวร้ายที่เรา ต้องคอยป้องกัน และกำจัดไม่ให้มาอยู่ใกล้ ตัวเรา

1. ให้ความสำคัญกับความเครียด

อย่าปล่อยตัวเองไปตามยถากรรม ต้องคอยดูแลตัวเองไม่ให้เครียด และรู้จักขจัดความเครียด ด้วยวิธีที่เหมาะสม

2. แบ่งเวลา

เรื่องเวลาไม่พอ หรือไม่มีเวลามักจะเป็นสาเหตุใหญ่ของความเครียด เพราะทำให้ไม่สามารถทำงานหรือ ปฏิบัติภารกิจต่าง ๆ ให้สำเร็จตามความคาดหวังได้ ความเร่งรีบทำให้เราเครียดทั้ง ๆ ที่ยังไม่ได้ทำอะไร เราจึงควรรู้จักเทคนิคการบริหาร เวลาเป็นลำดับแรก เช่น จัดลำดับความสำคัญของงาน กำหนดเวลาให้แต่ละงาน อย่างสมเหตุสมผล วางแผนตารางงานและเวลาล่วงหน้า รวมถึงเวลาเพื่อการพักผ่อน หย่อนใจด้วย อย่าผัดวันประกันพรุ่ง จนกระทั่งงานถูกสุมจนสุด จะแก้ไข หัดปฏิเสธเสียบ้าง หรือกระจายงานให้คนอื่น ตามความเหมาะสมบ้าง

3. กำหนดกลยุทธ์การรับมือกับความเครียด

ลองพิจารณาแหล่งที่มาของความเครียด เช่น สภาพแวดล้อมการทำงานที่ไม่ดี ความรับผิดชอบที่มากเกินไป ปัญหาในครอบครัว หรือ ปัญหาอื่นใดที่เรากังวลใจ แล้วหาทางรับมือกับสิ่งเหล่านั้นแทนที่จะวิ่งหนี หาทางที่จะมองเป็นโอกาส บางครั้งการยอมรับด้วยการก้มหน้าก้มตาทำ อย่างเต็มใจก็ทำให้ความเครียดหายไปแล้ว

4. ออกกำลังวันละนิด จิตแจ่มใส

การออกกำลังกายทำให้เราหายเครียด เพราะร่างกายจะหลั่งสารที่ทำให้รู้สึกสบาย ฉะนั้นผู้ที่ร่างกายแข็งแรง และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ จึงรับมือกับความเครียดได้ดีกว่า

5. หัดปล่อยวางให้ได้

คนที่สามารถปล่อยวางความเครียดได้ดีกว่า ย่อมหายจากความทุกข์ได้เร็วกว่า อย่าจมปลักอยู่กับ ต้นตอของความเครียดนาน ๆ ปล่อยวางแล้วหาทางป้องกันแก้ไขดีกว่า

6. ขอความช่วยเหลือ เล็ก ๆ น้อย ๆ จากบุคคลรอบข้าง

การได้รับการสนับสนุนจากสังคมแวดล้อมที่เราอยู่ เช่น เพื่อน หรือ ครอบครัว ช่วยให้เราทำสิ่งต่างๆ ได้สะดวกและง่ายดายขึ้น ความเครียดจึงลดลงโดยอัตโนมัติ เราจึงควรให้ความสำคัญกับมิตรภาพ และความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่นอย่างสม่ำเสมอ

7. มองโลกในแง่ดี

ให้คิดเสียว่า ความกดดันที่ได้รับเป็นโอกาสให้เรา ได้แสดงความสามารถของตัวเอง อย่าได้ไปคิดแง่เลวร้าย แต่เพียงอย่างเดียว เพราะเป็นการบั่นทอนตัวเอง

8. ผ่อนคลาย

การผ่อนคลายด้วยวิธีต่าง ๆ หรือ นั่งสมาธิจะทำให้กล้ามเนื้อได้รับกรผ่อนคลาย หัวใจและความดัน อยู่ในระดับปกติ เราจึงควรเรียนรู้ วิธีผ่อนคลายที่เหมาะสมกับตัวเอง

9. รู้เท่าทัน ความเปลี่ยนแปลง

พยายามหลีกเลี่ยงการเปลี่ยนแปลงที่ไม่จำเป็น ในกรณีที่จำเป็น ควรมีการวางแผนที่ดี โดยคำนึงถึงผลกระทบต่าง ๆล่วงหน้า

10. เตรียมตัวให้พร้อม

เพื่อให้มีความเข้มแข็งที่จะสร้างพฤติกรรมที่ดี และขจัดนิสัยที่ไม่ดีออกไป

11. ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ

ในกรณีที่วิกฤตจริงๆ สุดที่เราจะช่วยตัวเองได้ จนความเครียด เป็นปัญหาต่อสุขภาพ อย่างรุนแรง ก็ต้องยอมให้ผู้เชี่ยวชาญ หรือ แพทย์ช่วยเหลือ อย่าหาทางรักษาตัวเองด้วยการพึ่งเหล้า หรือยาเสพติด เพราะจะทำให้สถานการณ์แย่ลง และปัญหาที่แท้จริงก็ไม่ได้รับการแก้ไข

Endrophine

แหล่งข้อมูล : นิตยสาร Gourmet & Cuisine ฉบับประจำเดือนธันวาคม ปี 2005